อุดมพันธุ์การเกษตร

"หนอนแมลงวันชอนใบ"

พืชตระกูลกะหล่ำให้ระวังหนอนแมลงวันชอนใบ

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอาทิ กวางตุ้ง คะน้า ให้เกษตรกรหมั่นสังเกตการเข้าทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบ ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชตระกูลกะหล่ำ สำหรับแมลงวันหนอนชอนใบ มักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้

หากพบเริ่มระบาด ให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

  1. อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
  2. หรือ ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๒๐-๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
  3. หรือ ไซเพอร์เมทริน ๔๐ % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๕-๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
  4. หรือ เบตา-ไซฟลูทริน ๒.๕% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
  5. หรือ ไดโนทีฟูแรน ๑๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

Source  สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!
0

Your Cart