อุดมพันธุ์การเกษตร

หนอนกระทู้

สินค้าดีมีคุณภาพ นำมาซึ่งผลผลิตที่มั่งคั่งและยั่งยืน

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด
มีต้นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนของอเมริกาใต้ (เช่น บราซิล อาร์เจนติน่า) พบว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่อันตรายมากโดยเฉพาะในข้าวโพด เข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นอ่อนจนถึงระยะให้ผลผลิต ขยายพันธุ์ได้หลายรุ่นต่อปี ในประเทศไทย พบการระบาดครั้งแรกแปลงข้าวโพดแม่สอดในจังหวัดตากในเดือน ธันวาคม 2561 และได้แพร่ระบาดทั่วทุกภาคที่มีการปลูกข้าวโพดนับจากนั้นเป็นต้นมา วงจรชีวิตของหนอนใช้เวลา 30-40 วัน
ช่วงที่ต้องมีการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดคือระยะตั้งแต่ข้าวโพดงอกจนถึงอายุ 30-43 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงที่สุด และเป็นช่วงที่ข้าวโพดฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงนี้ไปแล้วการระบาดลดลงตามธรรมชาติ
การป้องกันกำจัด
  1. เก็บกลุ่มไข่ หรือ ตัวหนอนทำลายทิ้ง
  2. เมื่อพบหนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟักจากไข่ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง พ่นทางใบ โดยให้สลับกลุ่มสารเคมี เพื่อลดความต้นทานของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด โดยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่แนะนำได้แก่
  3. สารสไปนีโทแรม (spinetoram) 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  4. สารคลอแรนทรานิลิโพรล (chlorantraniliprole) 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  5. สารคลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  6. สารอินดอกซาคาร์บ (indoxacarb) 15% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  7. สารฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide) 20% WG อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
  8. สารอีมาเม็กติน อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
  9. สารลูเฟนนูรอน อัตรา 10ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ทั้งนี้ ให้พ่นสารฆ่าแมลงทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง และต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน เพื่อลดความต้านทานสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
source : https://www.syngenta.co.th/destroy-fall-armyworm.php
Source  สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
error: Content is protected !!
0

Your Cart