อาการใบไหม้

อาการใบไหม้ อาการใบไหม้แผลแห้งมีขนาดใหญ่ อาจจจะแห้งบริเวณเนื้อในหรือจากขอบใบก็ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับโรคใบจุดแล้ว แผลที่เกิดจากอาการใบไหม้จะมีขนาดแผลที่ใหญ่กว่า และเป็นบริเวณกว้างกว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบัคเตรี และอาจเกิดจากการให้ปุ๋ย หรือการฉีดสารเคมี เช่น ยาปราบวัชพืช ยากันรา มากเกินไปในเวลาที่มีอากาศร้อนจัด สินค้าในหมวดนี้

read more

อาการใบจุด

อาการใบจุด อาการใบจุดจะพบแผลแห้งเป็นจุดกระจายบนใบแผลมีขนาดใกล้เคียงกันโดยอาจจะเกิดเป็นแผลกลม หรือแผลเหลี่ยม ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีจำนวนแผลมาก และลามติดต่อกันและทำให้ใบแห้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา และบัคเตรี โรคใบจุด (Alternariabrassicicola) : LEAF SPOT DISEASE ลักษณะอาการเชื้อราสาเหตุชนิดนี้มักทำให้เกิดโรคกับพืชตระกูลกระหล่ำเกิดทุกส่วนและทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่อาการแรกบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลเล็กๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่ขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงันเมื่อย้ายไปปลูกในแปลงจะทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ อาการใน ต้นแก่มักพบบนใบและก้าน เกิดเป็นแผลจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ เแผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ การแพร่ระบาด : สปอร์แพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง สัตว์ มนุษย์ และติดไปกับเครื่องมือ โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝนหรือในระยะที่มีความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้นราสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ใน ลักษณะ seed-borne การป้องกันกำจัด 1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรคหรือนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที 2. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก…

read more

โรคเน่าเละ

“โรคเน่าเละ” เตือน‼️ ระวังโรคเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด ⛈⛈ ในช่วงที่มีฝนกระหน่ำ มีฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักบางแห่ง และมีความชื้นในอากาศสูง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และกวางตุ้ง ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคเน่าเละ ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช สำหรับโรคเน่าเละจะแสดงอาการเริ่มแรกพบบนใบหรือบริเวณลำต้นมีแผล เป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ ต่อมาแผลจะขยายลุกลามเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลไหม้ ส่วนเนื้อเยื่อพืชบริเวณแผลจะยุบตัวลง และจะมีเมือกกลิ่นเหม็นฉุนเยิ้มออกมาภายนอก จากนั้นต้นพืชจะเน่ายุบตายไปทั้งต้น โรคเน่าเละจะพบระบาดมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งแบคทีเรียจะสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชทั้งในสภาพไร่และในโรงเก็บ สำหรับแนวทางในการป้องกันและแก้ไข หากเริ่มพบอาการของโรคเน่าเละในแปลงปลูก ให้เกษตรกรรีบขุดต้นพืชที่เป็นโรค และเก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที หลีกเลี่ยงการทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชเกิดแผล ซึ่งแผลจะเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุของโรคเข้าทำลายพืชได้ง่าย อีกทั้งเกษตรกรควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป นอกจากนี้ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรไถกลบเศษพืชผักทันที และก่อนการปลูกพืช เกษตรกรควรไถพรวนพลิกหน้าดินให้ลึกจากผิวดินเกินกว่า 20 เซนติเมตร ให้ดินได้ตากแดดไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ และไถกลบพลิกหน้าดินอีกครั้ง เพื่อทำลายเชื้อสาเหตุของโรคที่ติดอยู่กับเศษซากพืช…

read more

โรครากเน่าโคนเน่า

“โรครากเน่าโคนเน่า” สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายและมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน สำหรับต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตายให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ กรณีพบอาการของโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ให้เกษตรกรถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100…

read more

โรคแคงเคอร์

[maxmegamenu location=primary] “โรคแคงเคอร์” พืชตระกูลส้มระวังโรคแคงเคอร์ระบาด เตือนเกษตรกรปลูกพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวานมะนาว และมะกรูด)ให้ระวังโรคแคงเคอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonasaxonopodis pv. citri) ระบาดเข้าทำลายโดยอาการบนใบเริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น เห็นเป็นแผลจุดนูนสีเหลืองอ่อน ลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ จากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อแข็งสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลยุบตัว ขอบแผลยกตัวขึ้น บริเวณรอบๆ แผลปรากฏวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลจุดนูนสีน้ำตาลพบทั้งผิวใบด้านบนและด้านล่าง โดยเห็นชัดเจนบนผิวใบด้านล่าง แผลเกิดได้ทั้งบนใบและก้านใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงก่อนกำหนด อาการบนกิ่ง ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาแผลจะแตก แข็งเป็นสีน้ำตาลขยายรอบกิ่งหรือตามความยาวกิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน  อาการบนผล ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่จะเกิดเป็นแผลเดี่ยวๆ มีลักษณะกลมฝังลึกลงไปในผิว แผลจะขยายเป็นสะเก็ดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน มีวงสีเหลืองล้อมรอบ บางครั้งพบผลปริแตกตามรอยแผล หากเกิดโรคในระยะผลอ่อนจะทำ ให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลร่วง แนวทางป้องกันกำจัด ๑. ควรเลือกกิ่งพันธุ์จากแหล่งปลูกที่ไม่มีการระบาดของโรคนี้ หรือไม่นำ กิ่งพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคไปปลูก และใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ๒….

read more