สารกำจัดแมลงศัตรูพืช

กลุ่มและประเภทของสารกำจัดแมลงศัตรูพืช แยกเป็นสี่กลุ่ม ดังต่อไปนี้ ประเภทของสูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชสูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามการจัดแบ่งขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่มีในประเทศไทยสรุปได้ดังนี้2.1 กลุ่มสารผสมรูปแบบของของเหลว สารเคมีกลุ่มนี้ผสมอยู่ในรูปแบบของของเหลวจำเป็นต้องผสมน้ำก่อนนำไปใช้ ประกอบด้วย2.1.1 สารผสมน้ำมันข้น (emulsifiable concentrate: EC) เป็น สูตรผสมที่นิยมใช้มากที่สุด สารผสมเป็นสภาพของเหลวเนื้อเดียว ได้จากการละลายสารสำคัญในตัวทำละลาย และผสมสาร emulsifier เพื่อให้สารออกฤทธิ์สามารถรวมกับน้ำได้ สารนี้เมื่อผสมรวมกับน้ำจะได้สารละลายมีสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนม เช่น อิมิดาโคลพริด 050 อีซี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20 เปอร์เซ็นต์ อีซี เป็นต้น2.1.2 สารผสมข้นละลายน้ำ (water soluble concentrate: WSC) เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีสภาพแบบเดียวกับชนิดแรก แต่เนื่องจากสารสำคัญสามารถละลายน้ำได้ จึงไม่ใส่สาร emulsifier ดังนั้น เวลาผสมกับน้ำจะไม่มีสีขาวขุ่น2.1.3 สารผสมของเหลวข้น (soluble concentrates: SL) เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชคล้ายกับ WSC สีใสผสมกับน้ำจะไม่มีสีขาวขุ่น…

read more

เพลี้ยไฟ

สารกำจัดเพลี้ยไฟ ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips dorsalis Hood วงศ์ Thripidae อันดับ Thysanoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลายเข้าทำลายโดยใช้ปากเป็นแท่ง (stylet) ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนของพืช ชอบทำลายยอด ใบอ่อน ตาดอกอ่อน เมื่อพืชถูกทำลายโดยเฉพาะบริเวณก้านใบหรือเนื้อใบด้านล่างจะเป็นรอยด้านสีน้ำตาล ถ้าการระบาดรุนแรงพืชจะชะงักการเจริญเติบโต หรือแห้งตายในที่สุด ถ้าเกิดกับใบอ่อนหรือยอดอ่อน ก็จะทำให้ใบ หรือยอดอ่อนหงิก ขอบใบหงิกและม้วนงอขึ้นด้านบนทั้งสองข้าง ใบที่ถูกทำลายมากจะเห็นเป็นรอยด้านสีน้ำตาล ถ้าเกิดในระยะพริกกำลังออกดอกก็จะทำให้ดอกพริกร่วง ถ้าระบาดในช่วงพริกติดผลแล้วจะทำให้รูปทรงของผลบิดงอ หากเป็นช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งอาจทำความเสียหายมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ดินฟ้าอากาศมีส่วนช่วยและเป็นอุปสรรคต่อการแพร่กระจายอย่างเด่นชัด สภาพอุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ และแสงแดดจัด ตลอดจนกระแสลมเป็นปัจจัยที่เพลี้ยไฟสามารถแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในฤดูแล้งมีอากาศแห้งและร้อนติดต่อกันนานๆ แต่หากมีฝนตกมากๆ ก็กำจัดหรือควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟพริกได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จะพบว่าในฤดูฝนมักจะไม่ค่อยมีแมลงศัตรูชนิดนี้ระบาดเหมือนในฤดูแล้งรูปร่างลักษณะและชีวประวัติเพลี้ยไฟพริกเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวเพียง 1 มม. สีน้ำตาลอ่อนทำลายพืชเมื่ออยู่ในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ ประกอบด้วยขนเส้นเล็ก ตัวอ่อนแตกต่างจากตัวเต็มวัยที่ไม่มีปีกและมีขนาดเล็กกว่า และตัวเต็มวัยยังเคลื่อนไหวได้เร็วกว่า เพลี้ยไฟพริกเจริญเติบโตจากไข่ที่ตัวแม่วางไว้ตามเส้นใบ…

read more

หนอนกระทู้

หนอนกระทู้ สินค้าดีมีคุณภาพ นำมาซึ่งผลผลิตที่มั่งคั่งและยั่งยืน ข้อมูลเพิ่มเติม หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มีต้นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนของอเมริกาใต้ (เช่น บราซิล อาร์เจนติน่า) พบว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่อันตรายมากโดยเฉพาะในข้าวโพด เข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นอ่อนจนถึงระยะให้ผลผลิต ขยายพันธุ์ได้หลายรุ่นต่อปี ในประเทศไทย พบการระบาดครั้งแรกแปลงข้าวโพดแม่สอดในจังหวัดตากในเดือน ธันวาคม 2561 และได้แพร่ระบาดทั่วทุกภาคที่มีการปลูกข้าวโพดนับจากนั้นเป็นต้นมา วงจรชีวิตของหนอนใช้เวลา 30-40 วัน ช่วงที่ต้องมีการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดคือระยะตั้งแต่ข้าวโพดงอกจนถึงอายุ 30-43 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงที่สุด และเป็นช่วงที่ข้าวโพดฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงนี้ไปแล้วการระบาดลดลงตามธรรมชาติ การป้องกันกำจัด เก็บกลุ่มไข่ หรือ ตัวหนอนทำลายทิ้ง เมื่อพบหนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟักจากไข่ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง พ่นทางใบ โดยให้สลับกลุ่มสารเคมี เพื่อลดความต้นทานของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด โดยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่แนะนำได้แก่ สารสไปนีโทแรม (spinetoram) 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สารคลอแรนทรานิลิโพรล (chlorantraniliprole) 5.17% SC อัตรา…

read more

หนอนแมลงวันชอนใบ

“หนอนแมลงวันชอนใบ” พืชตระกูลกะหล่ำให้ระวังหนอนแมลงวันชอนใบ เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอาทิ กวางตุ้ง คะน้า ให้เกษตรกรหมั่นสังเกตการเข้าทำลายของแมลงวันหนอนชอนใบ ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชตระกูลกะหล่ำ สำหรับแมลงวันหนอนชอนใบ มักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ หากพบเริ่มระบาด ให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๒๐-๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไซเพอร์เมทริน ๔๐ % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๕-๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน ๒.๕% อีซี อัตรา…

read more

หนอนเจาะผล

หนอนเจาะผล ฝนมาให้ระวังหนอนเจาะผลส้มโอ สวนส้มโอในระยะที่สภาพอากาศเริ่มเข้าฤดูฝนและมีฝนตกในบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรสวนส้มโอให้เฝ้าระวังหนอนเจาะผลส้มโอ ในระยะที่ต้นส้มโอติดผล จะพบตัวเต็มวัย เพศเมียวางไข่บนผลส้มโออายุประมาณ 2 สัปดาห์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มประมาณ 2-29 ฟอง เมื่อหนอนฟักจะกัดกินเข้าไปในผลส้มโอ ซึ่งรอยเจาะทำลายของหนอนจะมีมูลที่ถ่ายออกมา และมียางไหลเยิ้ม ทำให้ผลเน่าและร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลส้มโอ เกษตรกรควรควบคุมบังคับให้ต้นส้มโอแตกยอด ออกดอก และติดผลในระยะเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัด สะดวกในการดูแลรักษา และช่วยลดปริมาณหนอนเจาะผลส้มโอ จากนั้น ให้เกษตรกรเก็บหรือเด็ดผลอ่อนที่ถูกหนอนเจาะผลส้มโอเข้าทำลายนำไปฝังหรือเผาไฟทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดต่อไป สำหรับในแหล่งปลูกที่พบการระบาดเป็นประจำ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจดูหนอนเจาะผลส้มโอในแปลงปลูกช่วงที่ต้นส้มโอติดผลอ่อน เมื่อผลส้มโออายุประมาณ 2 สัปดาห์ เกษตรกรควรพ่นด้วย สารฆ่าแมลงอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 2. หรือสารโพรฟีโนฟอส 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 3….

read more

หอย

“หอยทากบก” เตือน!!เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักหรือผักอินทรีย์เฝ้าระวังการระบาดของหอยทากบก สภาพภูมิอากาศที่มีฝนตก ทำให้พื้นดินชุ่มชื้นในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักหรือผักอินทรีย์เฝ้าระวังการระบาดของหอยทากบก สภาพภูมิอากาศที่มีฝนตก ทำให้พื้นดินชุ่มชื้นในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักหรือผักอินทรีย์เฝ้าระวังการระบาดของหอยทากบก อาทิ หอยเจดีย์เล็ก หอยเจดีย์ใหญ่ หอยดักดาน และหอยสาริกา สามารถพบได้ในทุกระยะของการปลูกผัก เกษตรกรควรสังเกตหอยทากบกในช่วงระยะเมล็ดงอก หอยจะกัดกินต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ด จนไม่พบต้นกล้าผักหรือจะพบเห็นต้นกล้าผักขึ้นเป็นหย่อม สำหรับในระยะเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยว มักพบหอยเจดีย์กัดกินใบล่างที่อยู่ติดดินเป็นรูทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนหอยดักดานและหอยสาริกา จะพบกัดกินใบได้ทุกใบเป็นรูแหว่งขนาดใหญ่ หากพบหอยจำนวนมากเฉลี่ย 10 ตัวต่อตารางเมตร เกษตรกรควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน โดยวิธีการกำจัดวัชพืชทั้งภายในและภายนอกแปลงปลูก ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอย จากนั้นเกษตรกรควรไถพรวนพลิกดินขึ้นมาตากแดด และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดไข่และลูกหอย โดยอาจโรยปูนขาวร่วมด้วย และให้หว่านเหยื่อพิษเมทัลดีไฮด์ 5% จีบี อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ หรือหว่านกากเมล็ดชาน้ำมัน อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ทั่วแปลงผักทั้งภายในและนอกแปลงปลูก เพื่อทำเป็นแนวป้องกันจากการเข้าทำลายของหอย กรณีที่เกษตรกรปลูกผักอินทรีย์ห้ามใช้เหยื่อพิษเมทัลดีไฮด์ Source  สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สินค้าที่เกี่ยวข้อง

read more

แมลงหวี่ขาว

“แมลงหวี่ขาว” แมลงหวี่ขาว (White fly) แมลงหวี่ขาว เป็นแมลงประเภทปากดูดขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใต้ใบพืช ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีปาก 1 คู่ ปกคลุมด้วยฝุ่นขาว ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเรียงติดกัน ไข่มีสีเหลืองอ่อน เรียวยาว ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายรูปไข่สีเหลืองปนเขียว แบนราบติดกับผิวใบ มีสีเหลืองอมเขียวใสมองเห็นส่วนต่างๆภายใน เคลื่อนไหวเมื่อถูกรบกวน แมลงหวี่ขาวตัวเต็มวัยมีอายุได้นาน 10-24 วันและสามารถวางไข่ได้ 66-300 ฟอง ตัวอ่อนวัยแรกมีอายุ 2-3 วันเป็นระยะที่เคลื่อนที่ได้ มักหลบดูดกินอยู่ใต้ใบ มีลําตัวค่อนข้างแบน หลังจากลอกคราบจะเป็นวัยที่ 2, 3 และ 4 ตามลําดับ ในระยะ 2 และ 3 ใช้เวลาแต่ละระยะ 2-3 วันมีการสร้างไขรอบๆ ตัวเพื่อให้จับยึดกับผิวใบได้ดีขึ้นเพราะไม่มีการเคลื่อนย้ายที่ เมื่อเป็นระยะที่ 4 จะมีการเปลี่ยนแปลง ภายในเป็นระยะที่มีตาแดงบางทีเรียกว่าระยะดักแด้โดยไม่มีการลอกคราบ ลักษณะลําตัวหนานูนขึ้นกว่าระยะ 2-3และมีสีออกเหลืองๆ…

read more

หนอนเจาะขั้ว

“หนอนเจาะขั้ว” ในระยะที่มีฝนตก เตือนเกษตรกรชาวสวนลำไยเฝ้าสังเกตการเข้าทำลายของหนอนเจาะขั้วผล สามารถพบได้ในระยะที่ต้นลำไยเริ่มติดผลอ่อน โดยจะพบหนอนเข้าทำลายลำไยที่เริ่มติดผลอายุประมาณ 1 เดือนจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ขณะที่ผลลำไยมีขนาดเล็ก น้ำหนักช่อน้อย ช่อผลลำไยชูขึ้น ผีเสื้อตัวเต็มวัยจะวางไข่อยู่ส่วนปลายของผลลำไย หากหนอนฟักออกจากไข่ก็จะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในผล และไม่สามารถเห็นรอยทำลายของหนอนจากการมองดูภายนอกได้ เมื่อผ่าผลลำไยดูจึงจะเห็นรอยที่ถูกหนอนเข้าทำลาย ผลที่ถูกทำลายจะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ผลจึงร่วงหล่นหมด และจะพบหนอน 1-3 ตัวต่อผล การเข้าทำลายของหนอนในระยะที่ผลลำไยเริ่มเปลี่ยนสี มีขนาดผลโตขึ้น น้ำหนักผลเพิ่มขึ้น และช่อผลโค้งลง ผีเสื้อตัวเต็มวัยจะวางไข่อยู่บริเวณใกล้ขั้วผล และจะพบหนอนหรือมูลหนอนอยู่ที่ขั้วผลเสมอ ทำให้ผลลำไยร่วงหล่นได้ง่าย ให้สังเกตดูบริเวณใกล้ขั้วผล จะพบรูเล็กๆ ที่หนอนเจาะออกมาเข้าดักแด้ภายนอก กรณีที่ผลลำไยไม่ร่วงหล่น เกษตรกรชาวสวนลำไยยังสามารถนำมาขายได้ราคาดีอยู่ เพราะดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทำลายของหนอนสำหรับในสวนลำไยที่พบการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลลำไย ให้เกษตรกรเก็บรวบรวมผลลำไยที่ถูกหนอนเจาะขั้วผลเข้าทำลายที่ร่วงหล่นบริเวณโคนต้น และเก็บรวบรวมดักแด้ของหนอนเจาะขั้วผลบนใบที่สามารถเห็นได้ชัดเจน นำไปฝังหรือเผาทิ้งทำลายนอกสวน จากนั้น หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะขั้วผล เกษตรกรควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง สารคลอร์ไพริฟอส/ไซเพอร์เมทริน 50% / 5% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85%…

read more

เพลี้ยไก่แจ้ส้ม

“เพลี้ยไก่แจ้ส้ม” ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง อาจส่งผลให้แมลงศัตรูพืชเข้าทำลายผลผลิตมะนาวในช่วงนี้ได้ เกษตรกรชาวสวนมะนาวควรเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม สามารถพบได้ในระยะที่มะนาวแตกตาใบและยอดอ่อน โดยเริ่มแรกบริเวณตาหรือยอดอ่อนจะพบกลุ่มตัวอ่อน และมูลหวาน ซึ่งอาจพบเชื้อราดำปกคลุมอยู่ ยอดอ่อนที่ถูกทำลายจะหงิกงอและเหี่ยวแห้ง หรือพบตัวเต็มวัยสีเทาส้มเกาะอยู่ที่บริเวณยอดทำมุม 45 องศา สำหรับแนวทางในการป้องกันและแก้ไข หากพบการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม เกษตรกรควรหมั่นสำรวจปริมาณเพลี้ยไก่แจ้ส้มทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการสุ่ม 5 ยอดต่อต้น จำนวน 10-20 ต้นต่อสวน หากพบกลุ่มตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม 2-3 ตัวต่อยอด ให้เกษตรกรตัดแต่งใบอ่อนและยอดอ่อนที่ถูกเพลี้ยไก่แจ้ส้มเข้าทำลายมาเผาไฟทิ้งนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน…

read more